วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประติมากรรมลอยตัว

ประติมากรรมลอยตัวได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น รูปประติมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ประติมากรรมรูปเหมือน และพระพุทธรูปลอยตัวสมัยต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรับประดับตกแต่ง เป็นต้น ประติมากรรมประเภทลอยตัวของไทยที่รู้จักกันดี คือ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปคลาสิคของไทยนั้นนับเป็นประติมากรรมลอยตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดของไทย ประติมากรรมประเภทนี้สร้างมากในสมัยปัจจุบัน คือ อนุสาวรีย์และรูปเคารพหรือพระบรมรูปของเจ้านายชั้นสูง เช่น อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์ในจังหวัดต่าง ๆ มากมายเป็นต้น

ประติมากรรมประเภทนูนสูง

                                                         

ประติมากรรมประเภทนูนสูง

ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง แต่มีพื้นเป็นฉากหลังประกอบอยู่ ประติมากรรมประเภทนี้มักใช้ตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาฐานอนุสาวรีย์อาคารทั่วไป เป็นประติมากรรมที่นิยมสร้างขึ้นเพื่อประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาแต่อดีต เช่น ประติมากรรมตกแต่งกระวิหารวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นประติมากรรมปูนปั้นแบบนูนสูง กล่าวกันว่าเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง สร้างขึ้นราวพุทธศวตวรรษที่ 17 โดยด้านหน้าวิหารปั้นเป็นเรื่องปฐมสมโพธิ์และทศชาติด้านหลังเป็นเรื่องการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ประติมากรรมปูนปั้น พระพุทธรูปปางลีลาที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประติมากรรมปูนปั้นที่วิหารทรงม้า วัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชและประติมากรรมปูนปั้นประดับเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์เจ็ดยอดอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ประติมากรรมประเภทนูนสูงที่ใช้สำหรับตกแต่งนี้ควรจะรวมถึง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย เช่น ประติมากรรมปูนปั้นประดับกระจกหน้าบ้าน พระอุโบสถและวิหารต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน เช่น ประติมากรรมที่ปั้นเป็นเรื่องราวหรือเป็นลวดลายประดับตกแต่งอาคาร ตกแต่งฐานอนุสาวรีย์ ตกแต่งสะพาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น และ ลอยและบินได้

ประติมากรรมประเภทนูนต่ำ

                                                                               

ประติมากรรมประเภทนูนต่ำ

ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง แต่จะแบนหรือบางกว่าประติมากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซึ่งมักจะได้แก่ ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่ง เช่น แกะสลักด้วยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นต้น ในปัจจุบันมีทำกันมากเพราะใช้เป็นงานประดับตกแต่งได้ดี ซึ่งอาจจะปั้นเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ตามวัตถุประสงค์ของสถาปัตยกรรมที่นำประติมากรรมนั้นไปประกอบนอกจากนี้ ประติมากรรมประเภทนี้ยังใช้ได้ดีในการปั้นเหรียญชนิดต่าง ๆ รวมถึงการปั้นเครื่องหมาย ตรา เครื่องหมายต่าง ๆ กันอย่างแพร่หลาย

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประติมากรรมไทย



เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ใน อากาศ โดยใช้วัสดุชนิดต่างๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนดวิธีการ สร้างสรรค์ผลงาน ความงามของงานประติมากรรมเกิดจากแสงและเงา ที่เกิดขึ้นในผลงาน
การสร้างงานประติมากรรม
ทำได้ 4 วิธี 1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่เหนียวอ่อนตัว และยึดจับตัวกันได้ดี วัสดุ ที่นำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง เป็นต้น ผลงานประติมากรรมไทยที่สร้างขึ้นในประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายเพื่อศาสนา ความเชื่อถือ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ จึงมีการสร้างผลงานประติมากรรมรูปลักษณะต่างๆ ดังปรากฏให้เห็นดังนี้
ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป สร้างขึ้นแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระพุทธรูป ปางต่างๆ
ประติมากรรมรูปบุคคล ช่างจะสร้างขึ้นให้มีลักษณะเหมือนกัน โดยการสื่อความหมายด้วย กิริยาท่าทาง ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญที่ใบหน้า
ประติมากรรมที่เป็นลวดลาย เกิดขึ้นจากการคิดประดิษฐ์ โดยมีพื้นฐานมาจากธรรมชาติ สร้างขึ้นเพื่อตกแต่งสถาปัตยกรรมและประดับตกแต่งพระพุทธรูป
ประติมากรรมรูปสัตว์ สร้างขึ้นเพื่อตกแต่งสถาปัตยกรรม อาทิ ปราสาท วัด พระราชวังหรือ สถานที่ราชการ เป็นภาพสัตว์ในอุดมคติ
ความงามของประติมากรรมไทยนั้น เกิดจากช่างไทยได้ทุ่มเทชีวิต จิตใจ สร้างขึ้นด้วยความ วิจิตรบรรจง ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป ลวดลายหรือรูปสัตว์ต่างๆ โดยมีโครงสร้างของรูปร่าง รูปทรง เส้น ที่อ่อนหวานงดงามแต่เกินความเป็นจริง
ความแตกต่างของ ประติมากรรมไทย และ ประติมากรรมสากล มันแตกต่างกันยังไงอะ
ขอข้อมูลหน่อยนะว่ามันแตกต่างกันยังไง -แรงบันดาลใจ แนวคิด
-เรื่องราวของงาน
-รูปแบบ ลักษณะของงาน
-วัสดุ อุปกร เทคนิคที่ใช้
-หลกองประกอบศิล พวก สี เงา
ขอบคุณทุกคนที่เข้าบาบอกนะครับ

คุณคิดว่างานประติมากรรมไทยแตกต่างกับงานประติมากรรมสากลอย่างไร

ประติมากรรมไทย
คุณคิดว่างานประติมากรรมไทยแตกต่างกับงานประติมากรรมสากลอย่างไร